กฎกติกา Instinctive Bow

เรียบเรียงจากกฎและข้อบังคับ มาตราของ World Archery
เล่มที่ 4 – ยิงธนู Field และ 3D ( Book 4 – Field and 3D Archery)
บทที่ 22 – อุปกรณ์ของนักกีฬา (Chapter 22 – Athletes Equipment)
หมวดคันธนูสัญชาตญาณ (Instinctive Bow Division)

22.4. ประเภทคันธนูสัญชาตญาณ (Instinctive Bow)

สำหรับประเภทคันธนูสัญชาตญาณ (Instinctive Bow) อนุญาตให้ใช้รายการดังต่อไปนี้ได้:

22.4.1.

ไม่มีการจำกัดชนิดหรือวัสดุในความหมายสามัญของคำว่า ‘คันธนู’ เพื่อใช้สำหรับการยิงเป้า อุปกรณ์ประกอบด้วย ด้ามคันธนู (Handle/Riser), มือจับ (Grip) เป็นแบบปกติเหมือนที่ใช้ยิงทั่วไป (ห้ามเป็นแบบ Shoot-through) ด้ามคันธนูทำจากวัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุที่มีส่วนประกอบจากเรซิ่น (เช่น ไม้, ไม้ไผ่, เขาสัตว์, ผ้า, ไฟเบอร์กลาส, และส่วนที่เป็นคันธนูอาจประกอบ คาร์บอน/กราไฟท์ หรือ โลหะ). ด้ามคันธนูต้องผลิตด้วยการลามิเนต หรือด้วยไม้ทั้งชิ้น. คันธนูอาจเป็นแบบถอดประกอบ (Take-down) และอาจรวมไปถึง ด้ามคันธนูที่ประกอบด้วยตัวยึดปีกธนูที่ทำด้วยโลหะมาจากโรงงานผู้ผลิต, รู/ขายึดศูนย์เล็ง, รูยึดก้านกด (Plunger), รูยึดเดือยก้านถ่วง (Stabilizer).

คันธนูอาจประกอบด้วยปีกธนูที่สามารถปรับได้หนึ่งปีก เพียงเพื่อใช้ปรับ Tiller เท่านั้น, แต่จะไม่อนุญาตให้ใช้คันธนูที่สามารถปรับเพิ่ม-ลดน้ำหนักน้าวสาย. ตัวด้ามคันธนูเองอาจเสริมด้วยวัสดุสังเคราะห์ชิ้นบางๆ ลามิเนตกันจนกว้างไม่เกิน 6 มม. เพื่อเสริมโครงสร้างส่วนยึดปีกธนู ที่ใช้ประกอบกันในตัวด้ามคันธนู, แต่ต้องไม่เกินหนึ่งในสี่ส่วนของโครงสร้างด้ามคันธนูซึ่งอาจทำด้วยโลหะ หรือวัสดุสังเคราะห์. ด้ามคันธนูต้องประกอบด้วยไม้ หรือ ไม้ไผ่. สำหรับคันธนูชิ้นเดียวที่ถอดประกอบไม่ได้, ปีกธนูที่ลามิเนตจากวัสดุใดใดที่กลืนลงไปกับด้ามคันธนู อนุญาตให้ใช้ได้. กำหนดให้มีสายยิงหนึ่งเส้น ขึงระหว่างปลายปีกธนูทั้งสองด้าน สามารถยิงโดยถือคันด้วยมือข้างหนึ่งบริเวณมือจับ ในขณะที่ใช้นิ้วของมืออีกข้าง น้าวดึงสายและปล่อยยิง

คันธนูตามที่อธิบายไว้ข้างต้นจะต้องเป็นคันธนูเปล่าๆ ยกเว้นแต่เพียงที่วางลูกตามที่อธิบายไว้ใน 22.4.3 ไม่อนุญาตให้มีส่วนที่ยื่นออกมาเพื่อใช้เล็ง หรือทำตำหนิช่วยเล็งใดใดบนคันธนู ไม่ว่าจะเป็นรอย หรือตำหนิ หรือแม้กระทั่ง ลายชั้นลามิเนท (บริเวณหน้าต่างคัน) ซึ่งอาจสามารถใช้ในการช่วยเล็งได้. ก้อนน้ำหนักภายในตัวคันธนู หากถูกประกอบไว้ระหว่างกระบวนการผลิตคันธนูและไม่ได้ประกอบเข้าในภายหลัง อนุญาตให้ใช้ได้. ก้อนน้ำหนักดังกล่าวจะต้องมองไม่เห็นโดยสิ้นเชิง ทั้งด้านนอกของด้ามคันธนู และปิดทับด้วยชั้นลามิเนตที่ใช้ในระหว่างการผลิตโดยไม่มี รู/ช่องให้มองเห็น, รูเสียบ, ฝาปิด, หรือฝาโลโก้ แบบครอบปิดหรือแบบเจาะฝัง ของผู้ผลิตมาตั้งแต่แรก

22.4.1.1.

อนุญาตให้ใช้ คันธนู ที่มีสีหลากสี หรืออาจมีตราเครื่องหมายการค้า (Trademark) ติดอยู่ด้านในทั้งบริเวณปีกธนูบนและล่าง หรือแม้แต่บนคันธนู (Riser) ก็ได้ หากพื้นที่มีสีหลากสี อยู่บริเวณมุมมองหน้าต่างคัน ซึ่งหากถูกพิจารณาว่าอาจใช้เป็นประโยชน์ในการช่วยเล็งได้ เช่นนั้นแล้วบริเวณนั้นต้องถูกปิดเทปทับ

22.4.2.

สายธนูจะมีจำนวนเส้นใยกี่เส้นก็ได้

22.4.2.1.

เส้นใยสายธนู (Strands) และเชือกพันเสริม (Serving) อาจจะมีหลากสีแตกต่างกัน หรือผลิตจากวัสดุต่างชนิดกันก็ได้ อนุญาตให้พัน Center Serving เสริมทับเพื่อเอื้อให้วางนิ้วน้าวสายได้สะดวก อนุญาตให้ติดน็อคเพื่อพาดร่องลูกธนู (Nocking Points) 1 หรือ 2 ตัว บริเวณ Serving เพื่อให้วางพาดร่องลูกธนูได้พอดีตามความจำเป็น และใช้กำหนดเป็นตำแหน่งพาดลูกธนู. เมื่อขึ้นสาย ห่วงปลายทั้งสองด้านของสายธนูจะคล้องอยู่ในร่องสายปลายปีกธนู. ไม่อนุญาตให้ติดอุปกรณ์ช่วย Mark ตำแหน่ง จมูก หรือ ริมฝีปาก บนสายยิง. การพัน Serving ทับสายธนูเมื่ออยู่ในตำแหน่งน้าวสุดระยะแล้ว จะต้องไม่อยู่ในแนวระดับสายตาของผู้ยิงที่อาจใช้ช่วยเล็งได้. สายธนูต้องไม่มีอะไรที่จะใช้ช่วยเล็งผ่าน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ตัว Peep, เครื่องหมายใดใด, หรืออื่นใดตามความหมายเดียวกัน

22.4.2.2.

อนุญาตให้ใช้ ตัวลดเสียงติดบนสาย (String Silencers) ตำแหน่งต้องไม่อยู่ใกล้กว่า 30 ซม. วัดจากจุดพาดลูกธนู (Nocking Point)

22.4.3.

ที่วางพักลูก ต้องเป็นแบบปรับตั้งไม่ได้

22.4.3.1.

ที่วางลูกธนูอาจเป็นแบบพลาสติก มีกาวในตัว หรือเป็นแบบทำด้วยขนนก ตามแบบที่ผู้ผลิตหรือนักกีฬา จัดหามา สามารถใช้เป็นที่วางพักลูกธนูตำแหน่งหน้าต่างของคันธนูได้. หากนักกีฬาเลือกที่จะวางลูกบน Shelf ของหน้าต่างคัน ตำแหน่ง Shelf ที่วางอาจถูกปิดวางด้วยวัสดุประเภทใดก็ได้ (เฉพาะบนตำแหน่ง Shelf ที่วางเท่านั้น). ส่วนแนวตั้งของหน้าต่างคัน อาจใช้วัสดุปิดทับเพื่อกันรอยได้ แต่จะต้องไม่ยกสูงเหนือระดับที่วางลูกธนูเกิน 1 ซม. หรือหนากว่า 3 มม. โดยวัดจากตำแหน่งด้ามคันธนูที่อยู่ติดกับวัสดุโดยตรง ไม่อนุญาตให้ใช้ที่วางพักลูกธนูชนิดอื่น ๆ

22.4.4.

ไม่อนุญาตให้ใช้สิ่งใดใดใช้เพื่อเช็คระยะน้าว

22.4.5.

ไม่อนุญาตให้ยิงแบบ Face walk (คือการยิงโดยปรับระดับตำแหน่งมือยิงบนหน้า)
หรือ String Walk (คือการยิงโดยปรับระดับตำแหน่งมือยิงบนสายธนู)

22.4.6.

ไม่มีการจำกัดชนิดในความหมายของคำว่า ‘ลูกธนู’ ที่ใช้ในการยิงเป้า อนุญาตให้ใช้ลูกธนูในแบบที่จะต้องไม่ทำความเสียหายให้กับเป้าอย่างรุนแรงเกินไป

22.4.6.1.

ลูกธนูประกอบด้วย ก้าน, หัวลูก, ร่องพาด, หางลูกธนู, และถ้าต้องการสามารถระบายสีลวดลายลงบนลูกได้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของก้านลูกธนูต้องไม่เกิน 9.3 มม. (แผ่นลายที่ใช้พันตกแต่งลูกธนู Arrow wrap ไม่ได้ถูกห้ามใช้ ตราบใดที่มีขนาดความยาวไม่เกิน 22 ซม.โดยวัดจากร่องพาดลูกธนู ไปทางด้านหัวลูกธนูจนสุดแผ่น Wrap) ขนาดหัวลูก (Points) ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 9.4 มม. ผู้ยิงต้องเขียนชื่อ หรือชื่อย่อ ลงบนลูกธนูทุกลูก ลูกธนูที่ใช้ตลอดการแข่งขันต้องเหมือนกัน ทั้งแบบ, ลวดลาย, สี, ปีก, ร่องพาดลูก ไม่อนุญาตให้ใช้ Tracer Nock (ร่องพาดลูกอีเลคโทรนิค ที่มีไฟเรืองแสง)

22.4.7.

อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ลักษณะช่วยป้องกันนิ้ว, ถุงมือ, หรือ นิ้วที่พัน Tape Plaster หรือ แผ่นรองนิ้วดึงยิงสายธนู
หากแต่ไม่อนุญาตให้ใช้ประกอบอุปกรณ์อื่นใดที่จะช่วยให้ผู้ยิงนำมาใช้ ช่วยรั้ง, ดึง, และปล่อยยิงสายธนู. ไม่อนุญาตให้นักกีฬาทำครื่องหมายใดใดเพิมเติมลงไป ไม่ว่าจะมีขนาด, รูปร่าง, และสีที่เหมือนกันหรือไม่ก็ตาม ในธนูประเภทสัญชาตญาณ

22.4.7.1.

ไม่อนุญาตให้ใช้ Anchor Plate หรือ Ledge – ซึ่งมีลักษณะเป็น แป้นรองคาง ยื่นอยู่ด้านบนของแผ่นรองนิ้ว (Tab) ใช้เพื่อช่วยการเข้าตำแหน่ง Anchor. ธนูต้องยิงโดยการปล่อยสายแบบ “เมดิเตอร์เรเนียน” (โดยวางนิ้ว 1 นิ้วด้านบนลูกธนู), หรือวางนิ้วไว้ใต้ตำแหน่งที่พาดลูกธนู (Three Under) โดยนิ้วชี้ต้องไม่ห่างเกิน 2 มม.ใต้ตำแหน่งที่พาดลูกธนู, ด้วยตำแหน่งเข้า Anchor เพียงตำแหน่งเดียว.

ผู้ยิงต้องเลือกว่าจะยิงโดยการปล่อยสายแบบ “เมดิเตอร์เรเนียน” (Mediterranean), หรือจะวางนิ้วไว้ใต้ตำแหน่งพาดลูกธนู (Three Under) แต่ไม่อนุญาตให้ยิงทั้งสองวิธี. อุปกรณ์ป้องกันขณะยิงด้วยตำแหน่างวางนิ้วไว้ใต้ตำแหน่งพาดลูกธนู แผ่นผิวต้องเป็นแบบชิ้นเดียวกันหรือชิ้นต่อกัน, ไม่สามารถนำมาใช้ยิงแบบแยกนิ้วได้. ถ้ายิงโดยการปล่อยสายแบบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถใช้แผ่นรองนิ้วแบบมีตัวคั่นระหว่างนิ้ว (Spacer/Separator) ใช้เพื่อป้องกันนิ้วหนีบลูกได้

22.4.8.

กล้องส่องทางไกลสองตา, สโคป, หรืออุปกรณ์ใดๆ ที่ใช้ช่วยในการมองตำแหน่งลูกธนู:

22.4.8.1.

หากต้องไม่มีขีดหรือเครื่องหมายที่อาจสามารถใช้มองเพื่อกำหนดระยะได้. เครื่องหมายต้องถูกปิดเพื่อไม่ให้นักกีฬามองเห็นหรือรู้ได้, ซึ่งรวมถึงระยะต่างๆ ที่ผู้ผลิตกำหนดไว้ เพียงพวกเขาเคลื่อนที่ จะรู้ระยะได้เมื่อปรับแป้นโฟกัส

22.4.8.2.

อนุญาตให้ใส่ แว่นสายตา, แว่นกันแดดได้ แต่ห้ามมิให้ติดตั้งเพิ่มเลนซ์รู หรือสิ่งที่คล้ายกันลงบนแว่นดังกล่าว ห้ามทำตำหนิหรือทำเครื่องหมายเพื่อช่วยเล็งลงบนแว่นและเลนซ์

22.4.8.3.

หากนักกีฬาต้องการปิดตาด้านที่ไม่ได้ใช้เล็ง และหรือกระจกเลนซ์, พลาสติก, สามารถคลุมปิดให้มิด ด้วยฟิล์มหรือปิดด้วยเทป หรือแผ่นปิดตาก็ได้

22.4.9.

อุปกรณ์เสริมที่อนุญาตให้ใช้ได้:

22.4.9.1.

อนุญาตให้ใช้ ตัวป้องกันแขน, ป้องกันหน้าอก, สายคล้องคัน, สายคล้องนิ้ว, เข็มขัด, ซองใส่ลูกธนู แบบห้อยด้านหลัง หรือ ห้อยสะโพกได้ อนุญาตให้เสริมยกพื้นบริเวณเท้า ไม่ว่าจะติดหรือไม่ติดกับรองเท้าก็ได้ โดยอุปกรณ์ต้องไม่มีส่วนยื่นไปกีดขวางนักกีฬาท่านอื่น ณ บริเวณตำแหน่งยืนยิง หรือยื่นนูนเกิน 2 ซม. จากรอยพื้นรองเท้า อนุญาตให้ใช้ ตัวซับแรงกระแทกติดกับปีกธนู (Limbs Dampener) ได้. ซองใส่ลูกธนูต้องไม่ติดอยู่กับคันธนู.

error: เวปไซต์นี้ ป้องกันคัดลอกเนื้อหา !!